แผนการจัดการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(เพิ่มเติม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                           ภาคเรียนที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่4เรื่อง การประยุกต์(การแปลงเลขฐาน)                                                       เวลา   3ชั่วโมง
1.              สาระสำคัญ
คณิตศาสตร์ถือเป็นวิชาหลักของทุกวิชาเพราะทุกวิชาในโลกนี้ต้องเกี่ยวข้องกับวิชา คณิตศาสตร์หรือวิชาเลขที่เรารู้จักกันดี  มนุษย์จะติดต่อสื่อสารกันในเชิงคณิตศาสตร์ด้วยเลข ฐานสิบ  แต่ในระบบดิจิตอลเราจะเทียบการทำงานของระบบด้วยเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 และ 1 และยังนำเลขฐานอื่นมาชีอีกเช่น เลขฐานแปด เลขฐานสิบหก เพราะเลขฐานเหล่านี้ สามารถเปลี่ยนเลขฐานถึงกันได้ระบบเลขฐานต่าง ๆประกอบด้วยระบบเลขฐานสอง (Binary) ประกอบด้วยตัวเลข 0 และ 1ระบบเลขฐานแปด (Octal) ประกอบด้วยตัวเลข 0 – 7ระบบเลขฐานสิบ (Decimal) ประกอบด้วยตัวเลข 0 – 9ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal) ประกอบด้วยตัว เลข 0 - 9 และ A – F
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ค 6.1 ม. 1/2  ใช้ความรู้ ทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และ เทคโนโลยีการ แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม
6.1 ม.1/5เชื่อมโยงความรู้ต่างๆในคณิตศาสตร์และนำความรู้ หลักการ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ      
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ทั่วไป
1.             มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการแปลงเลขฐานใดๆ
2.             เห็นความสำคัญการแปลงเลขฐานใด ๆ
3.             ทราบขั้นตอนและวิธีการในการแปลงเลขฐาน ใด ๆ
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.             บอกความจำเป็นในการเปลี่ยนเลขฐานได้
2.             ปฏิบัติการเปลี่ยนเลขฐานสิบไปเป็นเลขฐานใด ๆ ได้
3.             ปฏิบัติการเปลี่ยนเลขฐานสองไปเป็นเลขฐานใด ๆ ได้
4.             ปฏิบัติการเปลี่ยนเลขฐานแปดไปเป็นเลขฐานใด ๆ ได้
5.             ปฏิบัติการเปลี่ยนเลขฐานสิบหกไปเป็นเลขฐานใด ๆ ได้
6.             มีทักษะในการแปลงเลขฐานและนำไปประยุกต์ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ได้

4. เนื้อหาสาระการเรียนรู้
1.  การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง
2.  การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานแปด
3.  การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสิบหก
4.  การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบ
5.  การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานแปด
6.  การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบหก
7.  การแปลงเลขฐานแปดเป็นเลขฐานสิบ
8.  การแปลงเลขฐานแปดเป็นเลขฐานสอง
9.  การแปลงเลขฐานแปดเป็นเลขฐานสิบหก
10 การแปลงเลขฐานสิบหกเป็นเลขฐานสิบ
11 การแปลงเลขฐานสิบหกเป็นเลขฐานสอง
12 การแปลงเลขฐานสิบหกเป็นเลขฐานแปด

5. กิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมครู
กิจกรรมนักเรียน
ขั้นเตรียมกิจกรรม
1.             ครูชี้แจงจุดประสงค์และเป้าหมายในการเรียนหน่วยที่ 3
2.             ครูชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญของการเรียนรู้
3.             ครูกำหนดแนวทาง และแนะนำวิธีเรียน เพื่อให้ผู้เรียนลดความสับสนและความรู้สึกเดิม ๆ ได้มีหลักการเรียนที่ง่าย ๆ และสามารถปฏิบัติการหาคำตอบได้อย่างถูกต้อง อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในระดับที่สูงขึ้น

1.             ผู้เรียนตั้งใจสนใจฟัง และจดบันทึก
2 ซักถามเมื่อเกิดความสงสัย

กิจกรรมครู
กิจกรรมนักเรียน
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.             ทดสอบก่อนเรียน โดยการถาม
-     หลักการแปลงเลขฐานต่าง ๆ
-     ประโยชน์ของการแปลงเลขฐาน
2.             สุ่มนักเรียนตามเลขที่ลุกขึ้นตอบคำถาม
3.             ให้นักเรียนในห้องหาคำตอบช่วยกัน
4. ครูตอบคำถามพร้อมอธิบาย ถึงหลักการแปลงเลขฐานคร่าวๆประโยชน์ของการแปลงเลข

1.             นักเรียนปรึกษาหารือเพื่อหาคำตอบ
2.             นักเรียนผู้ที่ได้รับคัดเลือกโดยการสุ่มลุกขึ้นแสดงความคิดเห็น และตอบคำถาม
3.             นักเรียนช่วยกันประเมินคำตอบของเพื่อน และช่วยกันสืบค้นเพื่อหาคำตอบที่คิดว่าถูกต้องที่สุดเสนอครูผู้สอน
4.             จดบันทึกสิ่งที่ครูผู้สอนอธิบายและสาธิตการหาคำตอบ
ขั้นดำเนินการสอน
1.             ครูอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างและแสดงวิธีการหาคำตอบทีละขั้นอย่างละเอียดแต่ละหัวข้อการเรียน
2.             ครูเขียนโจทย์บนกระดานแล้วแสดงวิธีการหาคำตอบไปพร้อมๆ กันกับผู้เรียน
3.             ให้ผู้เรียนทำใบงาน สาระการเรียนละประมาณ 3 ข้อ และกำหนดเวลาส่งทุกครั้งที่เรียนจบแต่ละหัวข้อการเรียน
4.             ครูตรวจใบงานและให้คะแนนสำหรับผู้ที่ทำถูกต้องและเสร็จทันเวลาที่กำหนด และผู้ที่ทำใบงานผิดต้องนำกลับไปแก้ไขใหม่จนกว่าจะใบงานจะถูกต้องทุกข้อ
1.             ครูดำเนินการในข้อ 1-4  จนครบทุกหัวข้อครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัย
2.              ครูบอกเทคนิค หลักการหาคำตอบที่ง่าย ถูกต้อง
3.             ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัย
4.              ครูบอกเทคนิค หลักการหาคำตอบที่ง่าย ถูกต้องและรวดเร็วให้แก่ผู้เรียนเพื่อเป็นแนวทางในการคิดและจดจำ

1.             ตั้งใจฟัง  จดบันทึก
2.             ผู้เรียนร่วมกันแสดงการหาคำตอบจากสิ่งที่ครูผู้สอนกำหนดให้
3.             นักเรียนถามเมื่อสงสัยหรือไม่เข้าใจบทเรียน
4.             ทำใบงานส่ง
5.             แก้ไขใบงานให้ถูกต้อง
6.             ผู้เรียนร่วมกับครูผู้สอนเฉลยใบงาน
7.             สรุปสาระการเรียนรู้ทุกหัวข้อการเรียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
8.             จดเทคนิคและวิธีการหาคำตอบตามที่ครูผู้สอนแนะนำ
9.             ตั้งใจทำแบบทดสอบ
10.      ผู้เรียนในห้องเรียนและครูผู้สอนร่วมกันเฉลยแบบทดสอบ
กิจกรรมครู
กิจกรรมนักเรียน
5.             กำหนดเวลาให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
ขั้นสรุป
6.             ครูแนะนำให้นักเรียนศึกษาจากเอกสารประกอบการเรียน,ใบงาน,แบบทดสอบ
7.             ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสาระการเรียนรู้ ความสำคัญและการนำไปประยุกต์ใช้
11. ผู้เรียนบอกวิธีที่นำความรู้จากบทเรียนไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป


6.  สื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้
1.        ชุดการสอนวีดีโอ
2.        หนังสือเรียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์
3.        ครูผู้สอน, Internet, E-learning,  Website , Visual Classroom
 4.     รายงานที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ประจำหน่วย
 5.     ชุดการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมสื่อประสม
7.  การวัดผลและการประเมินผล
1.        ความสนใจในการเรียนรู้การค้นคว้าการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
2.        การซักถามและการตอบคำถาม
3.        การทำงานเป็นทีม (ให้ความสำคัญในการทำงานเป็นทีมงาน, การมีส่วนร่วมรับผิดชอบกันและกันของกลุ่มที่ปฏิบัติภาระงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ)
4.        การสรุปเนื้อหาบทเรียน องค์ความรู้ที่ได้ในกิจกรรมการเรียนการสอน และสามารถปฏิบัติภาระงานที่ได้รับมอบหมายแล้วเสร็จทันเวลาที่กำหนด
5.        บันทึกผลการเรียนรู้
6.        แฟ้มสะสมผลงานในการปฏิบัติภาระงานที่มอบหมาย
8.  กิจกรรมเสนอแนะ /ภาระงานที่มอบหมาย
1.ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้จาก หนังสือ Internet , Website ,  บทเรียนออนไลน์ใน  Visual Classroom  ของสถานบันการศึกษาต่าง ๆ
2.บันทึกและสรุปองค์ความรู้ที่ได้ในการเรียนเสนอครูผู้สอนหลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอน
              ในแต่ละครั้ง

9. กิจกรรมเสนอแนะ
1.  ผู้เรียนต้องทบทวนบทเรียนทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนอยู่อย่างสม่ำเสมอ
2.  ผู้เรียนหมั่นเข้าชั้นเรียนเพื่อรับฟังเทคนิค วิธี และแนวทางที่ดีกับครูสอนอย่างตั้งใจ

                3.  ผู้เรียนสนใจทำใบงาน แบบทดสอบ และขยันปรับปรุงแก้ไขใบงานและแบบทดสอบให้ถูกต้องทุกครั้งที่ทำผิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น